วันพุธที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2557

การวิเคราะห์การเล่นกีฬาวอลเลย์บอล

   10 สุดยอดจังหวะแชมป์เอเชีย


 
 
 
 
 
 


กติกา และ วิธีดู ของกีฬาวอลเล่ย์บอล

กติกา และ วิธีดู ของกีฬาวอลเล่ย์บอล


                          


หลายละเอียดทั่วไปของสนาม

            สนามแข่งขันจะมีขนาด กว้าง x ยาว เท่ากับ 9 x 18 เมตร และทุกเส้นกว้าง 5 เมตร แบ่งเป็นสีเข้มกับสีอ่อน แสงสว่างในสนามจะอยู่ระหว่าง 500 - 1500 วัตต์ ตาข่ายจะกว้าง 1 เมตร ยาว 9.5 เมตรและจะมีเส้นแถบข้างไว้กำหนดเขตการออก มีเสาอากาศ ความสูงของตาข่าย  สำหรับผู้ชาย 2.43  ส่วนผู้หญิงนั่นจะเป็น 2.24 และเสาขึงตาข่ายมีความสูง 2.55  เมตร ห่างจากเส้นข้าง 50 - 100 เซนติเมตร



การแข่งขัน
           ใช้การเสี่ยงเลือกเสิร์ฟหรือเลือกแดน ก่อนแข่งให้วอร์มที่ตาข่าย 3 ถึง 5 นาที ถ้าทั้ง 2 ทีม ตกลงวอร์มพร้อมกันให้วอร์มที่ตาข่ายได้ 6 – 10 นาที
ตำแหน่งของผู้เล่น
            ในขณะที่ผู้เสิร์ฟทำการเสิร์ฟ ผู้เล่นแต่ละคนต้องอยู่ในแดนของตน ผู้เล่นแถวหน้า 3 คน แถวหลังแต่ละคนจะต้องอยู่ด้านหลังของคู่ของตนทีเป็นผู้เล่นแถวหน้า การเล่นผิดตำแหน่งจะเป็นฝ่ายแพ้ในการเล่นลูกครั้งนั้น การหมุนตำแหน่งต้องหมุนตามเข็มนาฬิกา
การเปลี่ยนตัวผู้เล่น
             เปลี่ยนตัวได้มากสุด 6 คนต่อเซต แต่ละครั้งจะเปลี่ยนกี่คนก็ได้ ผู้ที่เริ่มเล่นในเซตนั้น จะเปลี่ยนตัวออกได้ 1 ครั้งและกลับเข้ามาเล่นได้อีก 1 ครั้ง ในตำแหน่งเดิม ผู้เล่นสำรองจะเปลี่ยนตัวเข้าไปเล่นได้เพียงครั้งเดียวในแต่ละเซต และผู้เปลี่ยนเข้ามาต้องเป็นผู้เล่นคนเดิม
การเล่นลูกบอล
              ผู้เล่นสามารถที่จะนำลูกบอลจากนอกเขตสนามกลับเข้ามาเล่นต่อได้ ทีมหนึ่งสามารถถูกลูกบอลได้มากที่สุด 3 ครั้ง ยกเว้นเมื่อทำการบล็อก ( ได้ 4 ครั้ง ) ผู้เล่นหนึ่งคนจะถูกลูกบอล 2 ครั้ง ติดต่อกกันไม่ได้ ยกเว้นการบล็อกถ้าผู้เล่นถูกลูกพร้อมกัน 3 คน ก็ถือว่าถูก 3 ครั้ง ถ้าถูกพร้อมกันเหนือตาข่ายก็จะไม่นับ ถ้าลูกบอลออกถือว่าฝ่ายที่อยู่ตรงข้ามทำออก ถ้ายึดลูกบอลเหนือตาข่ายจะต้องเล่นใหม่ ลูกบอลที่ชนตาข่ายยังเล่นต่อไปได้จนครบ 3 ครั้ง ตามกำหนดยกเว้นการเสิร์ฟ
การเสิร์ฟ
              เสิร์ฟโดยผู้เล่นที่อยู่ในตำแหน่งหลังขวาที่อยู่ในเขตเสิร์ฟ การกำหนดทีมที่จะเสิร์ฟ ลูกแรกในเซตที่ 1 และ 5 โดยการเสี่ยง ต้องเสิร์ฟตามลำดับที่บันทึกไว้ เมื่อโยนออกไปเพื่อเสิร์ฟแล้ว ต้องใช้มือหรือส่วนใดของแขนข้างเดียว กระโดดเสิร์ฟได้ ต้องเสิร์ฟลูกภายใน 5 วินาที หลังจากผู้ตัดสินเป่านกหวีด ถ้าเสิร์ฟพลาดไม่ถูกลูก ผู้ตัดสินจะให้เสิร์ฟใหม่ภายใน 3 นาที
การตบลูกบอล
              ผู้เล่นในแดนหน้าสามารถตบลูกบอลด้วยวิธีใดก็ได้จากแดนของตนเองในความสูงทุกระดับ โดยในขณะที่สัมผัสลูกบอลนั้น ลูกบอลจะต้องอยู่ในแดนของตนเองเพียงส่วนหนึ่งส่วนใดหรือทั้งหมดก็ได้ ส่วนผู้เล่นในแนวหลังสามารถกระโดดตบลูกได้ แต่จะต้องตบจากเขตแดนหลัง การตบลูกบอลดังกล่าวหากไม่เป็นตามกติกาข้อนี้ถือว่าเสีย
การบล็อก
             ผู้เล่นแถวหน้าเท่านั้นที่บล็อกได้ จะบล็อกเป็นรายบุคคลหรือกลุ่มก็ได้ เมื่อบล็อกได้แล้วยังถูกลูกได้อีก 3 ครั้งห้ามบล็อกลูกเสิร์ฟ สามารถใช้ส่วนต่างๆ ของร่างกายตั้งแต่หัวจรดเท้าถูกลูกบอลได้
             การล้ำแดนผิดระเบียบ ก่อนหรือระหว่างการตบของคู่ต่อสู้ หรือสัมผัสลูกบอลในแดนคู่ต่อสู้เข้าไปในแดนคู่ต่อสู้ขณะที่ลูกบอลยังอยู่ในการเล่น และตัวผู้เล่นถูกตาข่ายหรือเสาอากาศถือเป็นการล้ำแดนที่ผิดกติกา
การขอเวลานอก
            ขอได้ 2 ครั้งต่อเซต ไม่ให้เปลี่ยนตัว 2 ครั้งต่อเนื่องกัน การขอเวลานอกมีเวลา 30 วินาที ในระหว่างการขอเวลานอกผู้เล่นทุกคนต้องออกไปอยู่บริเวณเขตรอบสนามใกล้ม้านั่ง
การเปลี่ยนตัวมากกว่า 1 คน
ให้แจ้งก่อนและเปลี่ยนทีละคู่ตามลำดับ
เหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น
             ถ้ามีเหตุระหว่างเล่นให้หยุด แล้วเล่นลูกนั้นใหม่ถ้ามีเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นต้องหยุดนานไม่เกิน 4 ชม . ถ้าทำการแข่งขันใหม่ใช้สนามเดิม เซตที่หยุดการแข่งขันจะนำมาแข่งขันตามปกติ ถ้าใช้สนามอื่นให้ยกเลิกเซตนั้นแล้วเริ่มต้นใหม่ ผลของเซตที่ผ่านมามีผลเหมือนเดิม ถ้าหยุดเกิน 4 ชั่วโมงต้องเริ่มแข่งใหม่ทั้งหมด
การหยุดพัก
              พักระหว่างเซตแต่ละเซตพักได้ไม่เกิน 30 วินาที ส่วนการพักเซตที่ 4 และเซตที่ 5 พักได้ 5 นาที ทั้งสองทีมต้องตั้งแถวที่แนวเส้นหลังทันทีที่ผู้ตัดสินเรียกลงสนามแข่งขันต่อ และเมื่อสิ้นสุดการแข่งขันในแต่ละเซต ทั้งสองทีมต้องเปลี่ยนแดนกัน นอกจากเซตตัดสิน
การเปลี่ยนแดน
              เมื่อเสร็จแต่ละเซตทั้ง 2 ทีมจะต้องเปลี่ยนแดนยกเว้นเซตตัดสิน เซตตัดสินทีมใดได้ 8 คะแนนน ให้เปลี่ยนแดนทันทีและตำแหน่งของผู้เล่นเป็นตามเดิม
ข้อห้ามของผู้เล่น
               ห้ามมิให้ผู้เล่นสวมเครื่องประดับที่เป็นโลหะของแข็งในระหว่างการแข่งขันทุกชนิด
มารยาทของผู้เล่น
               ผู้เล่นต้องยอมรับผลการแข่งขัน สุภาพอ่อนโยนต่อผู้ตัดสินและฝ่ายตรงข้าม ไม่ควรแสดงท่าทางและทัศนะคติที่ใม่ดีระหว่างแข่งขันหรือแสดงพฤติกรรมอื่นใดที่ไม่เป็นการสุภาพต่อผู้อื่น
แนะนำการดูวอลเลย์บอล
               เป็นกีฬาที่เล่นโดยทีม 2 ทีมบนสนามที่แบ่งแดนด้วยตาข่าย ลักษณะการเล่นอาจแตกต่างกันได้ตามสภาพที่จำเป็นเพื่อให้ทุกคนเล่นกันได้แพร่หลาย กีฬาชนิดนี้จัดเป็นกีฬานันทนาการที่ได้รับความนิยมเป็นอันดับ 3 ของโลก
จุดมุ่งหมายของการแข่งขันก็คือ การส่งลูกข้ามตาข่ายให้ตกลงบนพื้นที่ในแดนของทีมตรงข้าม และป้องกันไม่ให้ทีมตรงข้ามส่งลูกข้ามตาข่ายมาตกบนพื้นที่ในเขตแดนของตน แต่ละทีมจะสัมผัสลูกบอลได้มากที่สุด 3 ครั้ง ในการส่งลูกบอลไปยังแดนของทีมตรงข้ามสัมผัสบอลแค่ครั้งเดียวก็ได้ โดยปกติแล้วการสัมผัสลูกบอลครั้งแรกก็คือ การรับลูก เสิร์ฟ จากฝ่ายตรงข้าม ครั้งที่ 2 คือ การ set บอลขึ้นบนอากาศ เพื่อให้ครั้งที่ 3 ซึ่งปกติจะใช้ตบลูกบอลทำได้อย่างสะดวก
การเล่นจะเริ่มต้นเมื่อทำการ เสิร์ฟ ลูกบอล โดยผู้เสิร์ฟ ส่งลูกบอลข้ามตาข่ายไปยังทีมตรงข้าม การเล่นจะดำเนินไปจนลูกบอลตกลงบนพื้นในเขตสนามหรือนอกเขตสนาม หรือทีมไม่สามารถส่งลูกกลับไปยังทีมตรงข้ามได้อย่างถูกต้องตามกติกา
ส่วนการนับคะแนนนั้น การแข่งขัน วอลเลย์บอล จะมีการได้คะแนนทุกครั้งที่มีการเล่นลูกถ้าฝ่ายรับลูกเสิร์ฟ ชนะการเล่นลูกนั้นก็จะได้สิทธิทำการเสิร์ฟ และผู้เล่นทั้งหมดต้องหมุนตามเข็มนาฬิกา 1 ตำแหน่ง
จะมีผู้เล่นอยู่ในทีมๆละอย่างมาก 12 คน และอย่างน้อย 6 คน แต่จะลงสนามได้ทีมละ 6 คน ผู้เล่นทั้ง 6 คน ในสนามอาจจะเล่นตลอดเกมหรืออาจเปลี่ยนตัวได้ตลอด ผู้เล่นที่เป็นผู้เสิร์ฟจะเป็นตำแหน่งหลังขวาสุด ซึ่งตำแหน่งของผู้เล่นทุกคนจะไม่สามารถเปลี่ยนได้ตามใจชอบ แต่จะต้องหมุนเวียนแบบทวนเข็มนาฬิกาเมื่อได้สิทธิเปลี่ยนเสิร์ฟ ยกเว้นก็ต่อเมื่อขณะที่กำลังเล่นลูกอยู่ นอกจากนี้ในส่วนของนักกีฬา ยังมีผู้เล่นตัวรับอิสระ (Libero player) ซึ่งเป็นผู้เล่น 1 ใน 12 คน แต่สวมเสื้อที่มีหมายเลขและสีแตกต่างจากผู้เล่นคนอื่นๆ อย่างเห็นได้ชัด สามารถเปลี่ยนตัวไปแทนผู้เล่นที่อยู่ในแดนหลังได้เมื่อลูกตายและก่อนที่ผู้ตัดสินจะเป่านกหวีดให้ทำการเสิร์ฟ โดยไม่นับเป็นการเปลี่ยนตัวเข้าออกปกติ
สำหรับผู้ตัดสินวอลเลย์บอล จะมี 2 คน คือ ผู้ตัดสินที่ 1 จะทำหน้าที่ชี้ขาดอยู่บนเก้าอี้ตัดสิน และผู้ตัดสินที่ 2 อยู่ด้านล่างตรงข้ามกับผู้ตัดสินที่ 1 ขณะเดียวกันจะมีผู้กำกับเส้นอีก 4 คน
การนับคะแนน แรลลี่พอยต์ หรือนับทุกลูกที่ลูกตาย จากเซ็ตที่ 1 ถึง เซ็ตที่ 4 กรณีที่เล่น 3 ใน 5 ฝ่ายเสิร์ฟ เล่นลูกจะนับทีละ 1 คะแนน แต่ถ้าฝ่ายเสิร์ฟทำเสียหรือฟาวล์ จะเสียคะแนนและจะต้องเปลี่ยนให้ฝ่ายตรงข้ามเล่น โดยนับคะแนนลักษณะเดียวกัน จนกว่ามีทีมใดได้ครบ 25 คะแนนก่อน เป็นทีมชนะในเซ็ตนั้น หลังจากนั้นเริ่มต้นเล่นกันใหม่ จนกว่าจะรู้ผลแพ้ชนะซึ่งโดยปกติจะแข่งกันหาผู้ชนะ 3 ใน 5 เซต
การแข่งขันในเซตตัดสิน ( เซตที่ 3 หากแข่งขันระบบ 2 ใน 3 หรือ เซตที่ 5 ในระบบ 3 ใน 5 จะแข่งขันแบบแรลลี่พอยต์ หรือนับแต้มทุกแต้มที่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดทำลูกเสีย ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายเสิร์ฟหรือไม่ก็ตาม ฝ่ายใดทำลูกเสียหรือผิดกติกา จะเสียแต้มและเสียสิทธิเสิร์ฟด้วย เซตนี้จะเกมที่ 15 แต้ม ไว้แต่มีกรณีดิวส์ จะต้องมีแต้มห่างกัน 2 แต้ม
นอกจากนี้ยังมีกติกาเบื้องต้นบางอย่างที่ควรรับรู้ เช่น ตำแหน่งการเสิร์ฟ ได้เปลี่ยนใหม่ นักกีฬาสามารถเสิร์ฟจุดใดก็ได้ โดยจะต้องไม่เหยียบเส้นหลังสนามเท่านั้น
ในส่วนของผู้ฝึกสอน ปัจจุบันอนุญาตให้ผู้ฝึกสอนเพียงคนเดียว ยืน เดิน และให้คำแนะนำแก่นักกีฬาได้ที่บริเวณด้านหน้าม้านั่งในแดนตัวเองระหว่างเส้นเขตรุก ถึงเขตอบอุ่นร่างกาย โดยไม่ถือเป็นการรบกวนการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ตัดสิน

วิธีเล่น กีฬาวอลเลย์บอล + การคิดคะแนน


วิธีเล่น กีฬาวอลเลย์บอล 


          -  ทีมที่ได้เสิร์ฟ จะต้องให้ผู้เล่นที่อยู่ในตำแหน่งขวาหลัง เป็นผู้เสิร์ฟเพื่อเปิดเกม จากนั้นผู้เล่นทุก  ตำแหน่งจะขยับตำแหน่งวนไปตามเข็มนาฬิกา

          -  การเสิร์ฟจะต้องรอฟังสัญญาณนกหวีดก่อน และให้เริ่มเสิร์ฟลูกบอลภายใน 5 วินาที

          -  ทีมที่ได้คะแนนจะเป็นผู้ได้เสิร์ฟ จนกว่าจะเสียคะแนนให้ฝ่ายตรงข้ามจึงจะเปลี่ยนเสิร์ฟ

          -  เมื่อลูกเข้ามาในเขตแดนของทีม จะสามารถเล่นบอลได้มากที่สุด 3 ครั้งเท่านั้น

          -  สามารถบล็อคลูกบอลจากฝ่ายตรงข้ามที่หน้าตาข่ายได้ แต่หากผู้เล่นล้ำเข้าไปในแดนของฝ่ายตรงข้ามจะถือว่าฟาวล์

          -  สามารถขอเวลานอกได้ 2 ครั้งต่อ 1 เซต ให้เวลาครั้งละ 30 วินาที


          -  ทุกครั้งที่แข่งขันจบ 1 เซต จะต้องมีการเปลี่ยนฝั่ง

การคิดคะแนน



           -  ทีมจะได้คะแนนเมื่อลูกบอลตกลงในเขตสนามของฝ่ายตรงข้าม โดยนับเป็นลูกละ 1 คะแนน และหากมีการเสียคะแนน จะต้องเปลี่ยนให้ทีมที่ได้คะแนนเป็นผู้เสิร์ฟ

         -  หากทีมไหนได้คะแนนครบ 25 คะแนนก่อน ก็จะเป็นผู้ชนะในเซตนั้นไป แต่หากคะแนนเสมอกันที่ 24-24 จะต้องมีการดิวซ์ (Deuce) หมายถึงต้องทำคะแนนให้มากกว่าอีกฝ่าย 2 คะแนน ถึงจะเป็นผู้ชนะ เช่น 26-24 หรือ 27-25 เป็นต้น

         -  ต้องแข่งขันกันให้ชนะ 3 ใน 5 เซต จึงจะเป็นผู้ชนะในเกมนั้น

ทักษะในการเล่นวอลเล่ย์บอล

     ทักษะในการเล่นวอลเล่ย์บอล


                การเล่นกีฬาวอลเลย์บอลมีทักษะส่วนบุคคลพื้นฐานที่จำเป็นต้องใช้สำหรับการเล่นหลายประเภท ซึ่งผู้เริ่มเล่นวอลเลย์บอลจำเป็นต้องเริ่มฝึกในพื้นฐานเหล่านี้ สำหรับในตอนนี้จะได้นำเสนอทักษะต่างๆ ที่จำเป็นสำหรับการเล่นวอลเลย์บอลในภาพรวมทุกทักษะ เพื่อที่จะได้ทราบว่าแต่ละทักษะมีวิธีการและความสำคัญอย่างไร
               รูปแบบทักษะพื้นฐาน ซึ่งทักษะทั้งหมดจำเป็นต้องใช้ในการแข่งขัน ในการฝึกนอกจากผู้เล่นจะสามารถปฏิบัติทักษะพื้นฐานทั้งหมดได้แล้วยังต้องสามารถเชื่อมโยงการเล่นในแต่ละทักษะได้ด้วย สำหรับการเล่นเป็นทีมนั้นหากผู้เล่นไม่มีความชำนาญในแต่ละทักษะพื้นฐานที่เกี่ยวกับการเล่นวอลเลย์บอลก็จะทำให้การเล่นเป็นทีมทำได้ยาก
                                                 ทักษะที่่ 1 การอันเดอร์วอลเลย์บอล 



            ลักษณะท่าทางเตรียมเล่นบอลของผู้เล่นมีลักษณะดังนี้

1. หงายมือทั้งสองข้าง
2. เอามือหนึ่งไปวางช้อนทับอีกมือหนึ่ง
3.รวบมือให้นิ้วหัวแม่มือชิดติดกัน มัด
4. ใช้มือใดมือหนึ่งกำหมัด
5. ใช้อีกมือหนึ่งโอบหมัด
6. ให้นิ้วหัวแม่มือทั้งสองชิดติดกัน .กำมือ
7.กำมือทั้งสองข้าง
8.นำมือทั้งสองข้างมาชิดกัน
9.ให้นิ้วหัวแม่มือทั้งสองข้างเสมอกัน
                                  

               ท่าการอันเดอร์
1. ยืนเท้าใดเท้าหนึ่งอยู่ข้างหน้าห่างกัน ประมาณ 1 ช่วงไหล่
2 ย่อเข่าลงให้หัวเข่าเลยปลายเท้าเล็กน้อยก้มลำตัวให้หัวไหล่อยู่ในแนวระดับของเข่า
3 ยกส้นเท้าขึ้นเล็กน้อย น้ำหนักตัวอยู่ที่ปลายเท้าทั้งสองข้าง ตรงบริเวณโคนหัวแม่เท้า ใต้ฝ่าเท้า
4 จับมือในท่าที่ถูกต้อง แขนทั้งสองเหยียดตึง ตามองที่ลูกบอล
                                 

                     


                                             ทักษะที่  2 การส่ง ( เซ็ท ) 
                    
           .การยกมือทั้งสองในการเซ็ต

1. ยกมือทั้งสองขึ้นประมาณหน้าผาก มือทั้งสองห่างจากใบหน้าประมาณ 1 กำมือ ( 10 เซนติเมตร)
                                       
2. กางนิ้วออก กางข้อศอกออกเล็กน้อย ข้อศอกอยู่ระดับเสมอไหล่หรือสูงกว่าเล็กน้อย กางนิ้วออกนิ้วงอเป็น 
3 เคลื่อนที่ไปที่ลูกบอลจะตกให้ลูกบอลอยู่เหนือศีรษะบริเวณหน้าผาก
4. ย่อเข่า ยกมือให้จุดสัมผัสบอลกับนิ้วมือห่างจากหน้าผาก 20 ซ.ม
                         

                                       ทักษะที่ 3 การตบลูกวอลเลย์บอล
                                    

1. การวิ่งเคลื่อนที่เข้าหาจุด

2. เตรียมกระโดดห่างจากจุดที่ลูกบอลตกประมาณ 1 ฟุต


3. กระโดดเหวี่ยงแขนทั้งสองไปข้างหลัง น้ำหนักตัวไปข้างหลัง เข่างอ
4. เหวี่ยงแขนทั้งสองขึ้นข้างหน้า พร้อมกับถีบเท้าทั้งสองกระโดดลอยตัว ขึ้นตรง ๆ

              

5. แขนขวาเงื้อไปข้างหลัง งอแขนเล็กน้อย แบมือ ตามองดูบอลตลอดเวลา
6. จังหวะที่จะตบ ให้กดไหล่ซ้ายลง พร้อมกับตบลูกบอลให้แรงส่งจากข้อมือ ศอก ไหล่ และลำตัว
7. ลงสู่พื้นด้วยเท้าทั้งสองในลักษณะย่อตัว
          
               
                                      
                                     ทักษะที่่ 4 การเสิร์ฟลูกวอลเล่ย์บอล
         
             การเสิร์ฟเป็นการรุกวิธีหนึ่งการแข่งขันจะเริ่มจากการเสิร์ฟเสมอ ลูกเสิร์ฟที่มีพลังและมีประสิทธิภาพ สามารถ ข่มคู่แข่งขันและเชิงความเป็นผู้คุมเกมการเล่นได้ด้วย จุดประสงค์ของการเสิร์ฟอยู่ที่การทำคะแนนโดยตรงทำลายยุทธวิธีการรุกของฝ่ายตรงข้ามลดภาระการตั้งรับของฝ่ายตน สร้างโอกาสที่ได้เปรียบในการตอบโต้ลูกเสิร์ฟที่ดีสามารถทำความหนักใจให้ฝ่ายตรงข้ามอันเป็นการทำลายขวัญและจิตใจของคู่แข่งขันทำให้เกิดความรวนเร ขาดความสัมพันธ์ในการรุกได้ทางหนึ่งด้วย ผู้เล่นจึงควรหาความชำนาญ โดยการฝึกหัดเสิร์ฟด้วยวิธีใดวิธีหนึ่งที่เหมาะสมและดีที่สุด หรือตามความถนัดของผู้เล่นแต่ละคน

หลักสำคัญในการเสิร์ฟ มีดังนี้ ท่าทางในการเสิร์ฟ
1. ตำแหน่งการยืน

2. การโยนลูกบอล                           
3. การเหวียงแขน
                                       ico940


4. จุดที่มือกระทบลูกบอล ท่าทางในการเสิร์ฟ ก่อนที่ผู้เล่นจะเริ่มทำการเสิร์ฟต้องรู้ตัวเองว่าตนเองถนัดเสิร์ฟท่าทางแบบใดตามที่ได้ฝึกฝนมา ถ้าเคยฝึกฝน หรือถนัดเสิร์ฟลูกท่าทางแบบใดต้องเสิร์ฟลูกตามแบบนั้นตลอดการแข่งขัน เพราการเปลี่ยนท่าทางการเสิร์ฟบ่อย ๆ ย่อมทำให้ประสิทธิภาพการเสิร์ฟเสียไป ตำแหน่งการยืน ก่อนที่จะเริ่มเสิร์ฟทุกครั้ง ผู้เล่นต้องยืนตามจุดหรือตำแหน่งที่เคยฝึกซ้อมมา มีผู้เล่นจำนวนมากที่ขาดความสังเกตในเรื่องนี้พอจับลูกบอลเข้ามายืนในเขตเสิร์ฟก็เสิร์ฟลูกไปตามใจตนเอง การยืนห่างจากเส้นหลังใกล้หรือไกลเพียงใด ยืนห่างจากมุมสนามมากน้อยเพียงใด ก็ต้องยืนที่จุดนั้นตลอดทุกครั้งที่ทำการเสิร์ฟ เพราะจะทำให้ความแรงความเร็วและทิศทางของลูกบอลเป็นไปตามเป้าหมายที่ต้องการและทำให้การเสิร์ฟมีผลเสียน้อยด้วย การโยนลูกบอล ความสูงขณะโยนลูกบอลขึ้นต้องสม่ำเสมอ เช่น ความสูงจากมือที่โยน ประมาณ 3 – 4 ช่วงของลูกบอล ก็จะต้องโยนลูกบอลให้มีความสูงเช่นนี้ตลอดไปเพราะการโยนลูกสูงบ้างต่ำบ้าง ทำให้แรงที่ใช้ตีและทิศทางของลูกขาดความแม่นยำ นอกจากนี้การโยนลูกใกล้ตัว ห่างตัวบ้าง เอียงไปซ้ายบ้างขวาบ้าง ก็ย่อมมีผลต่อการตีลูกบอลด้วย การเหวี่ยงแขน การเสิร์ฟให้ลูกบอลพุ่งไปตามทิศทางและมีความแรงตามที่ต้องการขึ้นอยู่กับการเหวี่ยงแขนด้วย ผู้เสิร์ฟเคยเหวี่ยงแขนในลักษณะใด มือห่างจากลูกบอลเท่าไรจะต้องทำอย่างนั้นทุกครั้งที่เสิร์ฟ จึงต้องฝึกฝนการเหวี่ยงแขนให้คล้ายกับเครื่องจักรที่มีจังหวะการทำงานอย่างสม่ำเสมอ จุดที่มือกระทบลูกบอล ลักษณะของมือและจุดที่มือกระทบลูกบอลต้องเหมือนกันทุกครั้งที่ตีลูกบอลในท่านั้น ๆ ด้วย เช่น การแบมือตีด้านหลังตรงส่วนกึ่งกลางของลูกบอล ก็ ต้องทำในลักษณะเช่นนี้ตลอดทุกลูกที่เสิร์ฟ เพราะการออกแรงและจุดที่ตีลูกบอลแตกต่างกันก็ยอมทำให้ทิศทางของลูกบอลที่พุ่งออกไปแตกต่างกันด้วย
                  13-44
ลักษณะของการเสิร์ฟ การเสิร์ฟโดยทั่วไปแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะใหญ่ ๆ คือ
1. การเสิร์ฟลูกมือล่าง
2. การเสิร์ฟลูกมือบน

                                    ทักษะที่ 5การสกัดกั้น ( ป้องกันการตบ )
                 630
1. ยืนแยกเท้าออกประมาณ 1 ช่วงไหล่
2. มือทั้งสองยกขึ้นกางฝ่ามือออก
3. งอเข่าเล็กน้อย
4. ศีรษะตั้งตรงมองไปข้างหน้า 5. กระโดดขึ้นเพื่อสกัดกั้นลูกตบของฝ่ายตรงข้าม
                         13-66
แหล่งที่มา 
http://wongsakon04.wordpress.com/117-2/







วันอังคารที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2557

ประวัติวอลเลย์บอลในประเทศไทย

                วอลเลย์บอลไทย

              
               วอลเลย์บอลได้แพร่หลายเข้ามาใน ไทย ตั้งแต่เมื่อใดไม่มีหลักฐานยืนยันแน่ชัด เพียงแต่ทราบกันว่าในระยะแรกๆ เป็นที่นิยมเล่นกันในหมู่ชาวจีนและชาวญวนมาก จนกระทั่งมีการแข่งขันระหว่างคณะ ชุมชน สโมสร และสมาคมขึ้น บางครั้งติดต่อแข่งขันกันไปในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และมีการแข่งขันชิงถ้วยทองคำทางภาคใต้

        

              ปี พ.ศ. 2477 กรมพลศึกษาได้จัดพิมพ์กติกาวอลเลย์บอลขึ้น โดยอาจารย์นพคุณ พงษ์สุวรรณ เป็นผู้แปล และท่านเป็นผู้เชี่ยวชาญในกีฬาวอลเลย์บอลเป็นอย่างยิ่ง จึงได้รับเชิญเป็นผู้บรรยายเกี่ยวกับเทคนิควิธีการเล่น ตลอดจนกติกาการแข่งขันวอลเลย์บอล แก่บรรดาครูพลศึกษาทั่วประเทศในโอกาสที่กระทรวงศึกษาได้เปิดอบรมขึ้น
ใน ปีนี้เองกรมพลศึกษาได้จัดให้มีการแข่งขันกีฬาประจำปีขึ้น และบรรจุกีฬาวอลเลย์บอลหญิงเข้าไว้ในรายการแข่งขันเป็นครั้งแรก พร้อมทั้งในหลักสูตรของโรงเรียนพลศึกษากลางได้กำหนดวิชาบังคับให้นักเรียน หญิงเรียนวิชาวอลเลย์บอลและเนตบอล สมัยนั้นมี น.อ.หลวงสุภชลาศัย ร.น. ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมพลศึกษา

                           

              จนกระทั่งปี พ.ศ. 2500 ได้มีการจัดตั้ง "สมาคมวอลเลย์บอลสมัครเล่นแห่งประเทศไทย" (Amature Volleyball Association of Thailand) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนและเผยแพร่กีฬาวอลเลย์บอลให้เจริญรุดหน้า และดำเนินการจัดการแข่งขันวอลเลย์บอลในระบบ 6 คน มีหน่วยราชการอื่นๆ จัดการแข่งขันประจำปี เช่น กรมพลศึกษา กรมการคณะกรรมการกีฬามหาวิทยาลัย เทศบาลนครกรุงเทพฯ สภากีฬาทหาร ตลอดจนการแข่งขันกีฬาเขตแห่งประเทศไทย ได้มีการจัดแข่งขันทั้งประเภททีมชายและทีมหญิงประจำปีทุกปี


แหล่งที่มา

วันศุกร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ประวัติกีฬาวอลเลย์บอลในต่างประเทศ


          กำเนิดกีฬาวอลเลย์บอล



              9 กุมภาพันธ์ เมื่อปี พ.ศ. 2437 (ค.ศ. 1895)  "วิลเลียม จี. มอร์แกน"  ผู้อำนวยการฝ่ายพลศึกษาของวายเอ็มซีเอในฮอลโยค รัฐแมสซาชูเซตส์ สหรัฐอเมริกา คิดค้นกีฬา "มินโทเนตต์" ซึ่งต่อมาได้วิวัฒนาเป็น "วอลเลย์บอล"

                                  
         
                  วิลเลียม จี. มอร์แกน (ค.ศ. 1870-1942) เป็นผู้คิดค้นกีฬาวอลเลย์บอล หรือเดิมเรียก "มินโทเนตต์" (Mintonette) เขาเกิดในล็อกพอร์ต รัฐนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา เขาพบกับเจมส์ ไนสมิท ผู้คิดค้นกีฬาบาสเกตบอล ขณะที่มอร์แกนกำลังศึกษาอยู่ที่วิทยาลัยสปริงฟีลด์ รัฐแมสซาชูเซตส์ ใน ค.ศ. 1892 เช่นเดียวกับไนสมิท มอร์แกนเข้าทำงานในด้านพลศึกษาที่วายเอ็มซีเอ (ชื่อไทยแปลว่า เยาวมานพคริสเตียนอมาตยสมาคม)



มอร์แกนเสียชีวิตใน ค.ศ. 1942 มีโรงเรียนประถมในไฮลโยค ชื่อ โรงเรียนวิลเลียม มอร์แกน ซึ่งตั้งตามชื่อเขา

ชุดแต่งกายสมัยก่อนของกีฬาวอลเลย์บอล
      ในปี พ . ศ . 2495 คณะกรรมการบริหารสมาคมวอลเลย์บอลแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา ได้เสนอให้ใช้ชื่อเป็นคำเดียวคือ Volleyball และนาย Morgan ได้แนะนำวิธีการเล่นให้แก่ Dr.Frank Wook ซึ่งเป็นนักฟิสิกส์ และ John Lynoh หัวหน้าหน่วยดับเพลิง โดยได้ร่วมกันร่างกฎเกณฑ์ในการเล่นขึ้น 10 ข้อ ดังนี้

1. เกม (Game) เกมหนึ่งประกอบด้วย 9 อินนิ่ง (Innings) เมื่อครบ 9 อินนิ่ง ฝ่ายใดได้คะแนนมากว่าเป็นฝ่ายชนะ
2. อินนิ่ง หมายถึง ผู้เล่นของแต่ละชุดได้เสิร์ฟทุกคน

3. สนามเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 25 ฟุต ยาว 50 ฟุต

4. ตาข่ายกว้าง 2 ฟุต ยาว 27 ฟุต สูงจากพื้น 6 ฟุต 6 นิ้ว

5. ลูกบอลมียางในหุ้มด้วยหนังหรือผ้าใบ วัดโดยรอบไม่น้อยกว่า 25 นิ้วและไม่เกิน 27 นิ้ว มีน้ำหนักไม่น้อยกว่า 9 ปอนด์ และไม่เกิน 12 ปอนด์

6. ผู้เสิร์ฟและการเสิร์ฟ ผู้เสิร์ฟจะต้องยืนด้วยเท้าหนึ่งบนเส้นหลัง และตีลูกบอลด้วยมือข้างเดียว อนุญาตให้ทำการเสิร์ฟได้ 2 ครั้ง เพื่อที่จะส่งลูกบอลไปยังแดนคู่ต่อสู้เช่นเดียวกับเทนนิส การเสิร์ฟจะต้องตีลูกบอลได้อย่างน้อย 10 ฟุต และห้ามเลี้ยงลูกบอล อนุญาตให้ถูกตาข่ายได้ แต่ถ้าลูกบอลถูกผู้เล่นคนอื่นๆ ก่อนถูกตาข่ายและถ้าลูกข้ามตาข่ายไปยังแดนคู่ต่อสู้ถือว่าดี แต่ถ้าลูกออกนอกสนาม จะหมดสิทธ์การเสิร์ฟ ครั้งที่ 2

7. การนับคะแนนลูกเสิร์ฟที่ดีฝ่ายรับจะไม่สามารถโต้ลูกกลับมาได้ให้นับ 1 คะแนนสำหรับฝ่ายเสิร์ฟ ฝ่ายที่จะสามารถทำคะแนนได้คือฝ่ายเสิร์ฟเท่านั้น ถ้าฝ่ายเสิร์ฟทำลูกบอลเสียในแดนของตนเอง ผู้เสิร์ฟจะหมดสิทธิ์ในการเสิร์ฟ

8. ลูกบอลถูกตาข่าย ( ลูกเสิร์ฟ ) ถ้าเป็นการทำเสียครั้งที่ 1 ให้ขานเป็นลูกตาย

9. ลูกบอลถูกเส้น ให้ถือเป็นลูกออก

10. การเล่นและผู้เล่น การถูกตาข่ายโดยผู้เล่นทำลูกบอลติดตาข่าย หรือ ลูกบอลถูกสิ่งกีดขวาง และกระดอนเข้าสู่สนามถือเป็นลูกดี

( Dr.Grorge J. Fischer ) บิดาแห่งกีฬาวอลเลย์บอล
               ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 Dr.Grorge J. Fischer เลขาธิการปฎิบัติการสงคราม ได้นำเอากีฬาวอลเลย์บอลเข้าไว้เป็นกิจกรรมส่วนหนึ่งในการฝึกทหารในค่าย ทั้งในและนอกประเทศ และได้พิมพ์กฎกติกากีฬาวอลเลย์บอลเพื่อแจกจ่ายไปยังหน่วยต่างๆ ของทหาร ทั้งกองทัพบกและกองทัพเรือ เพื่อให้ทหารได้ใช้เวลาว่างกับกีฬาโดยอุปกรณ์ต่างๆ เช่น ลูกวอลเลย์บอล และตาข่ายจำนวนหลายหมื่นชิ้นได้ถูกส่งไปยังค่ายทหารที่ประอยู่ตามหน่วยต่างๆ ทั้งในประเทศและกอง ทัพพัธมิตร นับว่า Dr.Grorge J. Fisher เป็นผู้ช่วยเหลือกีฬาวอลเลย์บอลเป็นอย่างมากจน ได้ชื่อว่าบิดาแห่งกีฬาวอลเลย์บอล

                วันที่ 9 กรกฎาคม พ . ศ . 2471 ไดมีการตั้งสมาคมวอลเลย์บอลแห่งสหรัฐอเมริกาขึ้น เรียกว่า The Untied States Volleyball Association มีชื่อย่อ USVBA ที่ Dr. George J. Fischer เป็นประธาน และ Dr. John Brown เป็นเลขาธิการ ได้ตั้งความมุ่งหมายในการบริหารกีฬาวอลเลย์บอลออกเป็นข้อๆ ดังต่อไปนี้

1. จัดการประชุมประจำปีเพื่อจดทะเบียนมาตรฐานของกีฬาวอลเลย์บอลให้ดีขึ้น
2. วางแผนงานพัฒนากีฬา และการจัดการแข่งขัน
3. จัดการแข่งขันชิงชนะเลิศแห่งชาติ
4. พัฒนากติกาในการเล่นให้ดีขึ้น
5. จัดหาสมาชิกให้เพิ่มขึ้น

                ปี พ . ศ . 2486 สมาคมสตรีของ AAHPER (America Association of Health,Physical Education and Recreation) โดยมี Dr. John Brown เป็นเลขาธิการและเหรัญญิกของสมาคม ได้นำเอากีฬาวอลเลย์บอลบรรจุเข้าไว้ในกิจกรรมของสมาคมสตรี และดำเนินการแข่งขันภายในกลุ่ม
ระหว่างวันที่ 1-7 พฤษภาคม พ . ศ . 2487 ได้จัดให้มีการแข่งขันกีฬาวอลเลย์บอลนานาชาติขึ้น โดยมีทีมที่สนใจเข้าร่วมการแข่งขันจำนวนมาก

                ปี พ . ศ . 2489 ได้เริ่มมีการสอนกีฬาวอลเลย์บอล โดยใช้อุปกรณ์การสอน เช่น ภาพยนตร์เกี่ยวกับการเล่นและการแข่งขันซึ่งเป็นฟิล์ม 16 มิลลิเมตร จำนวน 2 ม้วน ในการทำภาพยนตร์ครั้งนี้คิดเป็นเงินประมาณ 7,800 ดอลลาร์ฯ หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ก็ได้มีการประชุมเกี่ยวกับการแข่งขันระหว่างชาติ โดยเริ่มที่ชิคาโก ซึ่ง Andrew Stewert เลขาธิการโอลิมปิกแห่ง สหรัฐอเมริกา เพื่อนำกีฬาวอลเลย์บอลจัดแข่งขันในกีฬาโอลิมปิกต่อไป

                ปี พ . ศ . 2490 ได้มีกฎกติกาจัดพิมพ์ใหม่ โดยสมาคม USVBA ซึ่งทางสมาคมได้ส่งนาย FB. De Groot และนาย Royal L. Thomas เป็นตัวแทนเข้าร่วมประชุมที่กรุงปารีส โดยร่วมจัดการแข่งขันระหว่างชาติขึ้น ซึ่งเป็นผลให้เกิดสหพันธ์กีฬาวอลเลย์บอลนานาชาติขึ้นในต้นปีนี้เอง
                
                ปี พ . ศ . 2491 มีการประชุมสมาคม USVBA ที่ South Bend Indiana และปรับปรุงสมาคม USVBA มีการเลือกตั้งคณะกรรมการใหม่ขึ้น โดยสมาคมได้ส่งทีมวอลเลย์บอลชายไปตระเวนแข่งขันในยุโรป

                ปี พ . ศ . 2492 หนังสือ Time Game เขียนโดยสมาคม USVBA รายงานการแข่งขันวอลเลย์บอลที่ลอสแอนเจลีส ซึ่งเป็นการแข่งขันระหว่างประเทศ ผู้ที่ชนะเลิศได้แก่ รัสเซีย ที่ 2 ได้แก่ เชโกสโลวาเกีย และในปีนี้เองประเทศผรั่งเศสได้สมัครเข้าเป็นสมาชิกของสมาคม USVBA ด้วย

                ปี พ . ศ . 2493 Dr. Fisheer ข้าราชการบำนาญที่มาร์แชลแอลเวลเตอร์ ได้นัดประชุมผู้นำทางกีฬาวอลเลย์บอล โดยแต่ละประเทศได้เขียนรายงานการประชุมเป็นภาษาสวิส และมีการสาธิตการเล่นกลางแจ้ง และในปีนี้ประเทศอังกฤษได้นำเอากีฬาวอลเลย์บอลไว้ในกิจกรรมของสมาคม Y.M.C.A. ของอังกฤษด้วย

                ปี พ . ศ . 2494 นาย Robert J. Lavelca ได้ทำสไลด์เกี่ยวกับทักษะเบื้องต้นในการเล่นกีฬาวอลเลย์บอลขึ้น

                ปี พ . ศ . 2495 ได้มีการจัดแข่งขันวอลเลย์บอลหญิงขึ้นครั้งแรก โดยมีนาย Migaki Nishikawa ประธานสมาคมวอลเลย์บอลแห่งประเทศญี่ปุ่น โดยจัดให้มีการแข่งขันระหว่างประเทศในแถบตะวันออกไกล และกีฬาวอลเลย์บอลนี้ได้ถูกจัดเข้าแข่งขันในโอลิมปิกครั้งแรกที่เมืองเฮลซิงกิ และมีการแข่งขันวอลเลย์บอลชิงแชมป์โลกครั้งแรกที่เมืองสโคร์ จากนั้นสมาคมวอลเลย์บอลแห่งญี่ปุ่นก็มีการส่งเสริมกีฬาชนิดนี้มาก โดยส่งทีมวอลเลย์บอลของมหาวิทยาลัย Lashita ซึ่งชนะเลิศการแข่งขันของประเทศญี่ปุ่นไปแข่งที่สหรัฐอเมริกา



แหล่งที่มา